ค่าไฟพุ่ง ตลาดโซลาร์เซลล์บูม 100% รับปี 67 ทงเวย โซลาร์ ตั้งเป้ายอดขาย 500 เมกะวัตต์
แนวโน้มค่าไฟพุ่งรับปี 67 บวกราคาโซลาร์ถูกลง เอื้อคนไทยแห่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์พุ่ง คาดปี67 ไทยมีกำลังผลิตติดตั้งถึง 4 GW โตเป็นเท่าตัวตัว “ทงเวย โซลาร์” ตั้งเป้ายอดขายมากกว่า 500 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นมูลค่า 2,500 ล้านบาท สู่แผน 3 ปี โกย 5,000 ล้านบาท
นายแจ๊ค สวี๋ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการด้านเทคนิคตลาดต่างประเทศ บริษัท ทงเวย โซลาร์ หรือ TW SOLAR เปิดเผยว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้นำในตลาดเซลล์แสงอาทิตย์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจากข้อมูลของ IHS พบว่าไทยมีกำลังการผลิตติดตั้ง 1.26 GW ในปี 2565 คิดเป็น 36% ของส่วนแบ่งตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบกับการดำเนินนโยบายพลังงานสะอาดและ มาตรการจูงใจของประเทศไทยที่มีอย่างต่อเนื่อง จึงคาดว่ากำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ในไทยจะสูงถึง 2.17 GW ภายในปี 2566 และจะกลายเป็นตลาดโซลาร์เซลล์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยโครงสร้างกำลังการผลิตติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ของไทยนั้นการใช้งานในครัวเรือนมีสัดส่วนน้อยกว่า 1% แต่กำลังการผลิตติดตั้งในภาคอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์สูงถึง 1.85 GW คิดเป็น 85%
“ปีนี้ไทยมีกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ราว 2 GW แต่จากแนวโน้มค่าไฟที่จะปรับตัวสูงขึ้น บวกกับอุปกรณ์แผงติดตั้งไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ที่มีราคาถูกลงมา รวมไปถึงนโยบาย คาร์บอนเครดิต ที่ภาคอุตสาหกรรมให้ความสำคัญ จึฃหันมาติดตั้งไฟฟ้าโซลาร์เซลล์มากขึ้น ส่ฃผลให้ปีหน้า คาดว่า ไทยจะมีกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัง หรือจาก 2 GW เป็น 4 GW และเมื่อคิดเป็นมูลค่าแล้วจาก 5,000 ล้านบาท จะเพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาทในปีต่อไป โดยสัดส่วยการติดตั้งนั้น จะเป็นกลุ่มครัวเรือน 25% โตขึ้น 50% และกลุ่มโรงงานและภาคอุตสาหกรรม อีก 75% และโตขึ้นมากกว่า 50%”
อย่างไรก็ตามหลังจากที่ทงเวยได้เริ่มทำการตลาดในประเทศไทย ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2/2566 รวมเป็นระยะเวลากว่า 6 เดือน ทำให้มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ซึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทย ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของทงเวย บริษัทพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกของโลกที่ติดอยู่ในลิสต์ Fortune Global 500 ทงเวยยังมีรากฐานที่แข็งแกร่งในห่วงโซ่อุตสาหกรรมแบบครบวงจร ได้รับการจัดอันดับให้เป็นที่หนึ่งของโลกในด้านวัสดุ และเซลล์ซิลิคอนเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน จากความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีอุปกรณ์การผลิตระบบอัตโนมัติ และระบบอัจฉริยะอยู่ในระดับสูงสุดในอุตสาหกรรม PV ของโลก รวมถึงการคัดสรรวัสดุและการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด ทำให้ Tongwei Solar ก้าวขึ้นเป็นผู้นำในด้านโมดูลคุณภาพสูง นอกจากนี้ธุรกิจโมดูลโซลาร์เซลล์ของ Tongwei Solar ยังมีการเติบโตที่แข็งแกร่งนอกเหนือจากฐานการผลิตสี่แห่งที่มีอยู่ในเหอเฟย (Hefei) เหยียนเฉิง (Yancheng) จินถัง (Jintang) และหนานทง (Nantong) แล้ว Tongwei Solar ยังมีกำหนดจะเริ่มการผลิตที่ฐานซวงหลิว (Shuangliu) ภายในปี 2568 เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตโดยรวมเป็น 100 กิกะวัตต์ ทำให้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากลูกค้าชาวไทย
จากการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้า และแนวโน้มการเติบโตที่ดีของตลาดโซลาเซลล์ในประเทศไทย ทงเวยจึงได้เดินหน้าเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “ทงเวย โซลาร์ G12R” ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์เรือธงที่จะทำการตลาดในประเทศไทย ปี 2567 โดยเป็นสินค้าในกลุ่ม N-Type (แผงซิลิคอนที่ผ่านกระบวนการโดปปิ้งด้วยสารฟอสฟอรัส phosphorus ทำให้มีคุณสมบัติเป็น ตัวส่งอิเล็กตรอนเมื่อได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่า และเสื่อมสภาพช้ากว่าแผงชนิดอื่นๆ) ใช้เทคโนโลยีแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง TONGWEI TNC ประสิทธิภาพ การแปลงเฉลี่ยมากกว่า 26.1% ใช้การออกแบบซูเปอร์มัลติบัสบาร์ การตัดด้วยเลเซอร์แบบไม่สูญเสีย บรรจุภัณฑ์ที่มี ความหนาแน่นสูง และเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงของรอยแยกย่อยและเพิ่มประสิทธิภาพ
ในแง่ของการออกแบบ G12R ได้รับการปรับปรุงโดยอิงจากซีรีส์ 182 แบบดั้งเดิม เมื่อพิจารณาถึงรูปแบบการขนส่งกระแสหลัก จะช่วยเพิ่มอัตราการ ใช้ตู้คอนเทนเนอร์ให้สูงสุดและลดต้นทุนการขนส่ง ด้วยการเพิ่มกำลังไฟฟ้า ต้นทุนรวมจะลดลง และด้วยจุดเด่นมาตรฐานของ แผงโซลาร์เซลล์ ( Photovoltaic : PV ) จากทงเวยซึ่งใช้ซิลิคอนที่ดีที่สุด ในการผลิตแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ มีความยืดหยุ่น ในการป้องกันรอยแตกขนาดเล็กจากอุณหภูมิที่สูงมากและต่ำ ที่เหมาะกับสภาพอากาศร้อนในประเทศไทย จึงมีความเชื่อมั่นว่า ผลิตภัณฑ์กลุ่ม G12R นี้จะสามารถตอบสนองความต้องการของการใช้งาน PV ที่หลากหลายในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ทั้งภาคครัวเรือน เชิงพาณิชย์ และภาคอุตสาหกรรม
ด้านนายแฟรงก์ เหยียน ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันเดย์ โซลาร์ ซัพพลาย จำกัด ผู้นำเข้า จัดจำหน่าย และให้บริการติดตั้งอุปกรณ์โซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายรายใหญ่แต่เพียงรายเดียวในประเทศไทยของแบรนด์ “ทงเวย โซลาร์” กล่าวว่า ในปี 2566 กลุ่มลูกค้าของทงเวยในตลาดไทย ส่วนใหญ่มาจากลูกค้าในครัวเรือน อุตสาหกรรมและการพาณิชย์ และโรงไฟฟ้าภาคพื้นดินขนาดใหญ่ ซึ่งจากภาพรวมตลาดที่ผ่านมา ถือว่าได้รับการตอบรับดีจากลูกค้าชาวไทย และคาดว่าจะสามารถจำหน่ายโซลาร์เซลล์ได้ ไม่ต่ำกว่า 500 เมกะวัตต์ภายในปี 2567 คิดเป็นมูลค่ารายได้มากกว่า 2,000 ล้านบาท ที่ทำได้ในปีนี้ จากยอดขาย 400 เมกะวัตต์ และจะสร้างรายได้กว่า 5,000 ล้านบาท ภายใน 3 ปี
โดยแผนการตลาดในปีหน้า ทั้งทงเวยและซันเดย์ โซลาร์ ซัพพลาย ซึ่งผู้จัดจำหน่ายเชิงกลยุทธ์ จะยังคงร่วมกันเสริม ความแข็งแกร่งในตลาดไทยผ่านความร่วมมืออย่างใกล้ชิด เพื่อให้บริการพลังงานที่สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งกลุ่มลูกค้าในภาคอุตสาหกรรม เชิงพาณิชย์ และภาคครัวเรือน โดยจะมีการดิจิทัลมีเดียมากยิ่งขึ้น เพื่อสื่อสารถึงประสิทธิภาพ และเสน่ห์ของแบรนด์ทงเวย นอกจากนี้จะติดตามโครงการโรงไฟฟ้าภาคพื้นดินในประเทศไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อสนับสนุนระบบพลังงานไฟฟ้าของประเทศที่สำคัญ และส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนในท้องถิ่น
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลจาก IHS ซึ่งเป็นผู้ให้บริการข้อมูลเศรษฐกิจ-การลงทุนระดับโลกยังพบว่าประเทศไทยได้เข้าสู่ตลาดระดับ กิกะวัตต์ (GW) ตั้งแต่ปี 2565 โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 2GW ต่อปีในช่วงปี 2566 ถึง 2573 ซึ่งบ่งชี้ว่ามูลค่าตลาดโดยรวมมีเสถียรภาพ ทำให้มีบริษัทเซลล์แสงอาทิตย์ระดับโลกจำนวนมากสนใจ เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย การแข่งขันในตลาดเซลล์แสงอาทิตย์ของไทยจะรุนแรงมากขึ้นในอนาคต นอกเหนือจากการแข่งขันในด้านราคา รูปลักษณ์ และคุณภาพผลิตภัณฑ์แล้ว ประสิทธิภาพการแปลง และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะเป็นจุดแข่งขันที่สำคัญ.
อ้างอิง : https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2734845